ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2472 เครื่องบินรบทิ้งระเบิดของไทย 3 ลำ ได้ออกทะยานฟ้าจากสนามบินดินเมือง ไป กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดียในสมัยนั้นที่ต้องการให้เครื่องบินที่ไทยที่สร้างขึ้นเองเป็นชาติแรกในทวีปเอเชียได้ขึ้นบินไปเชื่อมสัมพันธไมตรี และ ในปีต่อมายังบินไปอวดโฉมให้ฝรั่งในประเทศเวียดนามอีกด้วย โดยการนำพวงมาลาไปวางยังอนุสาวรีย์ของผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นจึงได้บินไปประเทศอินเดียอีกเป็นครั้งที่ 2
ไทยเราเริ่มสร้างเครื่องบินรบไว้ใช้เองมาตั้งแต่ปี 2458 หรือประมาณ 100 กว่าปี ในสมัยตั้งแต่รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสามารถสร้างเครื่องบินรบจนเป็นชาติแรกในเอเชียที่มีเครื่องบินรบมากที่สุด โดยมีที่มาจาก นายแวน เดอบอร์น ชาวเบลเยี่ยม ได้นำเครื่องบินปี 2 ชั้นแบบเออร์วิลไรท์ มาบินโชว์ที่สนามม้าปทุมวัน เมื่อปี 2452 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และ สมเด็จเจ้าฟ้าจักพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก ท่านได้ทดลองขึ้นนั่งบนเครื่องบินและได้ขึ้นบินทั้ง 2 พระองค์ ต่อมาทรงเล็งเห็นว่าเครื่องบินมีประโยชน์มากทั้งทางด้านกิจการทหาร และ พลเรือน (เศรษฐกิจ) จึงได้ส่งส่งทหาร 3 นาย ไปศึกษาวิชาที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อทั้ง 3 นายศึกษาวิชาเสร็จสิ้นก็ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย พร้อมกันนั้นประเทศไทยก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินแบบ เบรเกต์ ปีก 2 ชั้น (เป็นเครื่องบินที่ใช้ฝึกบิน) ที่ประเทศฝรั่งเศสมา 3 ลำ ในปี 2456 ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ หรือ นายชุ่ม อภัยวงศ์ ได้สั่งซื้อเครื่องให้อีก 1 ลำ รวมเป็น 4 ลำ ด้วยกัน
ผ่านไปกว่า 2 ปีที่ไทยได้ซื้อเครื่องบินจากฝรั่งเศสมา ก็ได้ศึกษาวิเคราะห์เครื่องบินจนสามารถสร้างประกอบเครื่องบินขึ้นใช้เองจากต้นแบบ เครื่องบินเบรเกต์ เป็นเครื่องบินลำแรกของเอเชีย ในปี 2458 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ของกองโรงงานกองบินทหารบก (ตอนนั้นยังไม่มีทหารอากาศ) แต่ว่าในขณะนั้นต้องสั่งเครื่องยนต์มา แล้วสร้างปีกกับลำเอง ใบพัดทำจากไม้โมกมัน ได้ให้ชื่อว่า "ขัติยะนารี ๑"
ต่อมาในปี 2470 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นายพันโท หลวงเวชยันตร์รังสฤษฎ์ หรือ นายมุนี มหาสันทนะ ดำรงค์ตำแหน่ง ผู้บังคับฝูงของโรงงานกรมอากาศยานกองทัพพก นายทหารช่างอากาศชาวไทย ได้ถูกส่งให้ไปศึกษาวิชาวิศวกรรมอากาศยานที่ แผนกวิศวกรรม กองการบินทหารบก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกแบบเครื่องบินขึ้นมาเองแบบที่ 1 แล้วสร้างขึ้นโดยใช้เครื่อง จูปิเตอร์ 450 แรงม้า ความเร็ว 157 ไมล์/ชั่วโมง รัชกาลที่ 7 ทรงพระราชทานนามว่า "บริพัตร" ตามพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ซึ่งนับเป็นเครื่องบินลำแรกสุดที่ออกแบบโดยคนไทย (เป็นลำเดียวกับที่บินไปโชว์ตามคำเชิญของประเทศอินเดีย เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี)
เครื่องบินลำแรก "บริพัตร" เป็นเครื่องบินประเภททิ้งระเบิด 2 ที่นั่ง มีปีก 2 ชั้น โครงสร้างทำมาจากท่อดูราลแมงและไม้บุด้วยผ้า เครื่องยนต์ 450 แรงม้าแบบ จูปิเตอร์ ของอังกฤษ ความยาวปีก 44 ฟุต ลำตัวจากหัวไปหาง 28 ฟุต 9 นิ้ว สูงจากพื้น 10 ฟุต 5 นิ้ว มีน้ำหนักโดยรวม 290.7 กิโลกรัม อัตราความเร็วสูงสุด 157 ไมล์ หรือ 290.7 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ถือว่าเร็วมากในขณะนั้น) ได้ทดลองขึ้นบินบนฟ้าเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2470 เข้าประจำการในปี 2470-2483
โดยประเทศไทยไม่ได้หยุดความคิดไว้แค่เพียงเครื่องแรกต่อมาในปี 2472 ไทยได้คิดริเริ่มออกแบบเครื่องบินขับไล่มาอีก ได้รับพระราชทานนามว่า "ประชาธิปก"
ในปี 2477 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองทางการเมือง (อันนี้ต้องไปศึกษาประวัติศาสตร์) ไทยได้สั่งซื้อเครื่องบินแบบคอร์แซร์ เป็นเครื่องบินแบบบินตรวจการณ์และทิ้งระเบิดของประเทศอเมริกามา 12 ลำ ถัดมาอีก 1 ปี ไทยได้ขอซื้อลิขสิทธิ์เพื่อมาสร้างเครื่องขึ้นเอง และได้สร้างเครื่องบินขึ้นมา 150 ลำโดยใช้เครื่องแบบคอร์แซร์เป็นต้นแบบ
ในปี 2478 ได้สั่งเครื่องบินขับไล่แบบฮอล์ค 3 จากประเทศอเมริกา มาอีก 12 ลำ และถัดมาอีก 1 ปี ไทยก็ขอซื้อลิขสิทธิ์มาสร้างขึ้นเอง อีก 50 ลำโดยมี เครื่องบินขับไล่แบบฮอล์ค3 เป็นต้นแบบ
ในยุคที่ประเทศไทยในขณะนั้นมีเครื่องบินประจำการมากที่สุดในทวีปเอเชีย (สุดยอดแห่งการรบทางอากาศ)
แต่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าของประเทศไทยเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การสร้างสรรค์หรือการคิดได้หยุดการพัฒนาไป แม้จะมาริเริ่มใหม่ในปี 2500 แต่ก็ไม่สามารถดึงศักยภาพออกมาได้เหมือนเมื่อก่อน ปัจจุบันสร้างได้แค่เครื่องบินฝึกบินเท่านั้น ในขณะที่ประเทศอินเดียได้โชว์การสร้างยานไปนอกโลกแล้ว (การเมืองการปกครองที่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำให้การพัฒนาประเทศถอยหลังจริงๆ)
ปัจจุบันเครื่องบินตำนานของประเทศไทย "ขัติยนารี","บริพัตร","ประชาธิปก","คอร์แซร์" และ ฮอล์ค 3 ยังมีแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของประเทศไทยอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศดอนเมือง แต่ก็เป็นที่น่ายินดีอยู่เมื่อเครื่องบินรบแบบ คอร์แซร์ กับ ฮอล์ค 3 ที่ยังเหลือในประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น แม้รัฐบาลสหรัฐจะมาขอซื้อแต่กฏหมายก็ไม่ยอดให้ขายเพราะเป็นสมบัติไว้ดูต่างหน้าที่ได้ชื่อว่าประเทศที่รุ่งเรื่องที่สุดในเอเชียในขณะนั้น (เศร้าได้อีก)
Your email address will not be published. Required fields are marked *