เปิดประวัตินักโทษหญิงคนสุดท้ายที่โดนกุดหัวพร้อมข้อคิดเตือนใจ
เรียบเรียงโดย : เว็บข่าวสารThaiFS
-
28 ธันวาคม 2562
4,422
เปิดประวัตินักโทษหญิงคนสุดท้ายที่โดนกุดหัว กับเรื่องราวสุดอื้อฉาวโจษจันเพราะความละโมบโลภมากแห่งทรัพย์สินเงินทอง บทเรียนที่ใครหลายคนควรอ่านไว้เป็นอุทาหรณ์
เรื่องราวสุดอื้อฉาวเกิดขึ้นเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มีบันทึกไว้สำหรับ วันที่ 20 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2448 ได้มีการประหารโดยการบั่นคอนักโทษหญิงชื่อ "นางล้วน" และที่สำคัญเป็นคนสุดท้ายสำหรับผู้หญิงแห่งประเทศสยามหรือประเทศไทย
แต่ก็ยังมีการประหารด้วยวิธีการบั่นคอเป็นคนสุดท้ายอีกแต่นั้นเป็นนักโทษชาย มีฉายาที่รู้จักกันดีคือ "บุญเพ็งหีบเหล็ก" ในสมัยนั้นเป็นคนที่มีจิตใจโหดเหี้ยมที่สร้างคดีฆาตกรรมชิงทรัพย์ในขณะที่ตนเองอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ หรือ บวชอยู่นั้นเอง ได้ถูกตัดสินประหารชีวิตที่วัดภาษี คลองตันเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2462
สำหรับคดีของ "นางล้วน" มีการตัดสินประหารชีวิตโดยการกุดหัวนั้นไม่ได้เป็นข่าวที่ดังมากนักในสมัยนั้น จึงได้มีการบันทึกเกี่ยวกับคดีของเธอไว้เพียงสั้นๆเพียงว่า "ต้องโทษด้วยข้อหาว่าฆ่าผัวตายแล้วเผาทั้งบ้าน ถูกประหารที่วัดหนองจอก ริมคลองแสนแสบ มีนบุรี หลังจากเพิ่งคลอดลูกในคุกได้เพียง ๑ เดือน ก่อนเข้าหลักประหาร นางล้วนได้มีโอกาสให้นมลูกเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่าน้ำวัดหนองจอก" ลูกของเธอมีนายตำรวจท่านหนึ่งได้รับไปอุปการะเลี้ยงดู
แต่คดีของ "น้องล้วน" ไม่ใช่เป็นรายแรกที่เป็นนักโทษหญิงที่โดนกุดหัว แต่ยังมีคดีที่เป็นข่าวใหญ่โตที่ประชาชนให้ความสนใจในสมัยนั้นอยู่ถึง 2 รายด้วยกัน
- รายแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นผู้กว้างขวางเพราะเป็นถึงภรรยาของคุณพระมีข้าทาสบริวารไว้ค่อยรับใช้แต่กลับไปเล่นชู้กับพวกทาสผู้ชาย ส่วนทาสผู้ชายที่เป็นชู้ถ้าไปมีอะไรกับทาสผู้หญิง ผู้หญิงคนนั้นจะโดนทรมานอย่างหนักโดยการใช้ดุ้นฟืนที่มีไฟติดอยู่ทิ่มเข้าไปที่ทวาร และ ทรมานจนถึงแก่ความตาย นักโทษหญิงผู้นี้คือ "อีอยู่" ขณะนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงได้กำชับให้พิจารณาคดีหึงอัมหิตวิตถารของนางเอง คดีถึงที่สุดคือประหารชีวิตโดยการกุดหัวที่วัดโคก หรือ วัดพลับพลาชัย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2428 เป็นคดีสุดอื้อฉาวอีกคดีที่มีประชาชนไปชมการประหารจนทำให้ศาลาวัดพังถล่ม
- รายที่สองเกิดขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นข่าวที่มีประชาชนสนใจเป็นจำนวนมากไม่แพ้กัน มีชื่อว่า "อีทองเลื่อนหักคอน้องผัว" เรื่องราวมีอยู่ว่า "อีทองเลื่อน" เป็นสาวที่มีรูปร่างหน้าตาสระสวยเป็นลูกครึ่งระหว่าง มอญ กับ จีน มีแม่เป็นคนเชื้อชาญมอญอยู่พระประแดง และ พ่อเป็นคนเชื้อชาติจีน ต่อมา "อีทองเลื่อน" ได้แต่งงานกับ "นายตังกวย" ที่บ้านมีฐานนะดีที่สำคัญ "นายตังกวย" ก็ยังมีน้องสาวอีก 1 คน ที่ไปมาหาสู่กันอยู่เป็นประจำ อยู่กันกันได้สักพัก "อีทองเลื่อน" กลัวผัวตัวเองจะแบ่งสมบัติที่มีอยู่ให้กับน้องสาวของตัวเองเลยเกิดความคิดละโมบโลภมากโดยการคิดต่างๆนาๆมาโดยตลอด พอมีลูกคนแรกเกิดขึ้นมาทองเลื่อนก็ยังเป็นห่วงเรื่องนี้มากขึ้นไปทุกที อยู่มาวันหนึ่งโอกาสประจวบเหมาะที่ผัวตัวเองต้องออกไปซื้อของภายในเมือง ทองเลื่อนจึงคิดหาโอกาสโดยการให้เด็กรับใช้พาลูกตัวเองไปฝากไว้กับยายของเด็ก ประจวบเหมาะกับน้องสาวของนายตังกวยมาหาอีทองเลื่อนจึงชวนไปที่ห้องแล้วจับหักคอในทันที หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็อุ้มศพไปใส่ไว้ในโอ่งหวังจะฆาตกรรมอำพรางศพให้คิดว่าน้องผัวหัวทิ่มจมโอ่งและคอหักตายเสียเอง จนเวลาบ่ายในวันนั้น ย่าคิดเอะใจว่าทำไมหลานที่เดินไปหาพี่ชายที่บ้านใกล้กันตั้งแต่ก่อนเที่ยงแล้วยังไม่กลับมาจึงเดินไปตามหาหลาน แล้วไปถามกับอีทองเลื่อน อีทองเลื่อนได้บอกแค่เพียงว่าน้องสาวมาหาจริงแต่ก็ได้เดินกลับไปนานแล้ว ย่าก็ได้แต่กระวนกระวายใจมากยิ่งขึ้นเมื่อได้ฟังดังนั้น พอตกเย็นวันเดียวกัน เด็กรับใช้บ้านของ "นายตังกวย" ก็ได้ไปเจอกับศพเด็กจมน้ำอยู่ในโอ่งเรื่องจึงเกิดแดงขึ้นมา ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปยังที่เกิดเหตุ และนำร่างขึ้นจากโอ่งพบว่ามีรอยเขียวช้ำบริเวณลำคอเห็นดังนั้นจึงเชื่อว่าไม่ได้เป็นแค่จมน้ำธรรมดาเสียแล้ว จึงได้เกิดการซักถาม "อีทองเลื่อน" อย่างหนักและได้มีอาการพิรุธขึ้น แต่ก็ยังปฏิเสธเสียงแข็งอยู่โดยการบอกว่าไม่รู้ไม่เห็นแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่จึงได้ส่งศพไปพิสูจน์ยังโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุการตายอย่างละเอียด จากการชันสูตรก็ปรากฏว่า บริเวณแก้มซ้ายและขวาและยังมีที่ลำคอมีรอยเขียวช้ำจากการถูกทำร้ายร่างกายจนคอหักตายก่อนลงไปแช่ในโอ่งน้ำ จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำกำลังจับกุม "อีทองเลื่อน" ส่งตัวเข้าห้องขังในทันที เพื่อนบ้านรายหนึ่งให้การว่าได้ยินเหมือนเสียงเด็กร้องอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว แต่เข้าใจว่าทองเลื่อนตีเด็กรับใช้เลยไม่ได้สนใจใดๆ แต่เพื่อนบ้านอีกคนเล่าให้ฟังว่าเห็นทองเลื่อนอุ้มเด็กเข้าไปในห้องด้วยท่าทางทุลักทุเล แต่เหตุการณ์นี้ทองเลื่อนก็ยังปฏิเสธ ศาลพิเคราะห์เห็นว่าคดีนี้มีมูลจึงส่งตัวมาขังที่เรือนจำกรุงเทพฯ ระหว่างนั้นท้องของ "อีทองเลื่อน" ก็เริ่มโตขึ้นทุกทีเพราะกำลังตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นจะตัดสินคดีโดยการประหารชีวิต ระหว่างอยู่ในการอุทรณ์ทองเลื่อนก็ท้องแก่ขึ้นทุกทีญาติพี่น้องจึงขอประกันตัวออกไปคลอดลูกที่บ้านเพื่อสะดวกแก่แม่และเด็ก ซึ่งศาลก็ให้ความอนุญาต เมื่อทองเลื่อนคลอดลูกเป็นบุตรชายแล้วก็ได้กลับมาเข้าเรือนจำตามเดิม คดีถึงที่สุด "อีทองเลื่อน" ก็คงโทษประหารเหมือนเดิมจากการกระทำของตัวเอง จากเหตุการณ์ดังกล่าวและต้องคดีประหารชีวิต ผู้คุมจึงได้นำตัวนักโทษหญิง "อีทองเลื่อน" ขึ้นรถและต่อเรือโยงเดินทางไปตามคลองบางปลากด พระประแดง เพื่อเดินทางไปยังลานประหารบริเวณวันโบสถ์ จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีประชาชนที่รู้ข่าวพากันขึ้นเรือตามไปดูกันเป็นจำนวนมากมาย ผู้คุมต้องถืออาวุธป้องกันไม่ให้เข้าใกล้เรือนักโทษ ในวันประหาร 14 ตุลาคม 2468 กรมราชทัณฑ์ได้มีความเมตตาต่อนักโทษ "อีทองเลื่อน" มากเพราะ "อีทองเลื่อน" ได้ขอให้นมบุตรตัวเองก่อนตายเป็นครั้งสุดท้าย แล้วยังเลือกเพชฌฆาตที่มีฝีมือการลงดาบที่ดีที่สุดในตอนนั้น เพื่อหวังจะให้ฟันคอทีเดียวให้หลุดออกจากบ่า แต่พอถึงหลักประหารจริงๆเพชฌฆาตที่ไม่เคยประหารผู้หญิงมาก่อนก็เกิดอาการประหม่าพลาดไปโดนบ่าทำให้นักโทษหญิง "อีทองเลื่อน" กรีดร้องด้วยความเจ็บปวดแม้เพชฌฆาตจะลงดาบสองไปอย่างติดๆคราวนี้ไม่มีพลาดแต่ก็ยังไม่ขาดเสียทีเดียวจึงต้องลงดาบ 3 ซ้ำไปอีกครั้ง โดยเหตุการและเรื่องราวของ "อีทองเลื่อน" ที่ประชาชนให้ความสนอกสนใจกับเรื่องราวดังกล่าวก็ได้ถูกนำไปเผยแพร่เป็นลำตัดและแหล่เทศน์มหาชาติ ทั้งยังได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือไว้ให้อ่านออกมา จนทำให้หนังสือดังกล่าวขายดิบขายดีจนต้องตีพิมพ์ถึง 10 ครั้ง เพื่อเป็นคติเตือนใจเกี่ยวกับการละโมบโลภมากในทรัพย์สินภายนอก (ส่วนประวัตินางทองเลื่อนนี้มีอะไรให้คิดให้เป็นคติเตือนใจมากมายแล้วค่อยมาเล่าให้ฟังอีกครั้ง)
"ดาบเพชฌฆาตนักโทษต้องคดีประหารชีวิต"