ตั้งแต่สมัยโบราณกาลว่าไว้ แรกเริ่มเดิมทีการตัดผมส่วนมากคนจีนส่วนใหญ่จะมาเป็นช่างตัดผม เปิดร้านในประเทศไทย แต่มาภายหลัง จอมพล ป. พิบูลสงคราม (นายกรัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่ง ยาวนานที่สุดของไทย) ได้มีความคิดและริเริ่มให้สงวนอาชีพไว้ให้เฉพาะคนไทย อาชีพช่างตัดผม และร้านตัดผมจึงเป็นคนไทยกันมากขึ้น
ในสมัยก่อนๆยุคแรกเริ่มร้านตัดผมส่วนมากจะหยุดร้านกันวันพธ โดยให้เหตุผลว่าช่วงวันนั้นคนจะมาตัดกันน้อย เพราะมีความเชื่อว่าเป็นวันที่ไม่ดี "วันพุธห้ามตัดผม วันประหัดห้ามถอน" วันประหัด เป็นคำเพี้ยนมาจากวันพฤหัสบดี ผู้เฒ่าผู้แก่คนโบราณกำหนดไว้ในตำราว่า
ตัดผมวันอาทิตย์ อายุจะยืนยาว
ตัดผมวันจันทร์ ตนเองจะมีภัย
ตัดผมวันอังคาร ศัตรูจะคิดอาฆาตพยาบาท
ตัดผมวันพุธ จะเกิดมีปากเสียงกับญาติและวงศ์ตระกูล
ตัดผมวันพฤหัสบดี เทวดาทั้งปวงจะอารักขา
ตัดผมวันศุกร์ จะมีลาภมาจากทุกทิศ
ถ้าตัดผมวันเสาร์ จะได้รับพรชัยจากเทวดา
เรื่องความเชื่อในเรื่องการตัดผมในวันพุธเคยมีตำนานผู้เฒ่าผู้แก่เล่าเป็นนิทานให้ฟังว่า ตั้งแต่ครั้นเป็นหนุ่มสมัยวัยรุ่น (สมัยใดไม่ปรากฏ) มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก่อนจะเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ก็ถือโอกาสตอนเช้าที่อยู่ว่างๆ ให้ช่างตัดผม เข้าใจว่าสมัยนั้นคงไม่มีตำรากำหนดวันดี แต่มันดันไปตรงกับวันพุธพอดี เมื่อตัดผมแล้วก็เป็นเวลาจวนจะต้องเข้าเฝ้าจะไปอาบน้ำก็ไม่ทันการณ์ เพียงแต่ผ้าขาวม้าปัดๆเศษผมออกแล้วรีบเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินเป็นการเร่งด่วน
แต่เมื่อถึงคราวดวงซวยหรือเรียกอีกอย่างว่ามีเคราะห์มันก็มีเรื่องให้เกิดโดยหลีกเลี่ยงนั้นได้ยาก โดยวันนั้นพระเจ้าแผ่นดินเผอิญไม่มีพระราชกรณียกิจอะไรมากมายนัก ไม่มีการส่งคำร้องเข้ามา พระเจ้าแผ่นดินเลยมีเวลาทอดพระเนตรเห็นข้าราชการอย่างทั่วถึงได้พินิจพิเคราะห์ตรวจตราความสะอาดความเรียบร้อยของข้าราชการเป็นพิเศษ และก็เป็นความบังเอิญโดยเช่นกันสายพระเนตรได้หยุดที่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งแลเห็นเศษเส้นผมที่ติดอยู่ตามไหล่ ตามใบหูของขุนนางเจ้ากรรมคนนั้น และด้วยความหวังดี พระองค์ทรงตรัสสั่งเสนาว่า "นี่เสนา เอ็งจงพาขุนนางของข้าไปล้างหัวปะเดี๋ยวนี้"
ฝ่ายเสนารีบสนองพระบรมราชโองการ จูงมือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปยังตะแลงแกงจัดการประหารตัดศีรษะขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทันที ทั้งนี้เพราะเข้าใจคำว่า "ล้าง" ผิดไป พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชประสงค์จะให้เอาน้ำล้างศีรษะให้เศษผมหลุดออก แต่เสนาบดีกลับตีความหมายผิดเพี้ยนไป โดยเข้าใจว่าเอาไปล้างตัดศีรษะ -*-
(นี่เป็นนิทานที่เล่ากันมาตั้งแต่ครั้นโบราณกาล ซึ่งผู้เล่าได้สรุปไว้ว่านี่เป็นนิทานก็ฟังไว้ไม่เสียหายอะไร เพราะเราก็ไม่รู้เรื่องเดิมแต่เป็นการพูดเล่าต่อๆกันมา)
Your email address will not be published. Required fields are marked *